vitalia-wellness-center

นอนไม่หลับทำไงดี 9 เทคนิคช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด แบบไม่ต้องพึ่งยา

vitalia-wellness-center

“โรคนอนไม่หลับ” เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการนอน มีอาการ นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิดหรือนอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพ หลับ ๆ ตื่น ๆ อยู่บ่อยครั้งตลอดทั้งคืน ถึงแม้ว่าคุณจะมีเวลาและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการนอนหลับก็ตาม การนอนไม่หลับอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิต เช่น ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกง่วงระหว่างวัน เบลอ ไม่มีสมาธิในการทำงาน และการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อสมาธิในระยะยาว จนต้องหาทางออกว่านอนไม่หลับ ทำไงดี

9 เทคนิคช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด แบบไม่ต้องพึ่งยา

นอนไม่หลับตอนกลางคืน มีทางออกโดยวิธีหลัก ๆ ดังนี้

1. เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา

เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา พยายามเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมทุกวัน รวมไปถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ จะช่วยปรับนาฬิกาชีวภาพของร่างกายให้คุ้นเคยกับเวลานอน ได้ดีมากยิ่งขึ้น และช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิดได้อีกด้วย

2. สร้างบรรยากาศ

สร้างบรรยากาศ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การนอน เช่น การปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นสบาย ไม่เย็นจัดจนเกินไป ปิดไฟให้มืดสนิท ป้องกันแสงรบกวนสายตา รวมถึงลดเสียงรบกวนต่าง ๆ หรืออยู่ในสถานที่ ที่เงียบสงบ จะทำให้นอนหลับได้ดี

3. ผ่อนคลายก่อนนอน

ผ่อนคลายก่อนนอน โดยการอาบน้ำอุ่น ฟังเพลงเบา ๆ อ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายก่อนนอน จะทำให้ร่างกายได้ปล่อยวางจากความเครียด และหลับสบายได้มากยิ่งขึ้น

4. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น

หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น การหลีกเลี่ยงสิ่งที่มากระตุ้นการตื่นตัวของร่างกาย จะช่วยให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพ เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และงดเล่นมือถือหรือดูทีวี 1-2 ชั่วโมงก่อนนอน

5. ออกกำลังกาย

ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรออกกำลังกายใกล้เวลานอน เพราะร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพื่อเพิ่มอุณหภูมิร่างกายระหว่างการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายรู้สึกไม่ผ่อนคลาย นอนหลับยาก จนอาจจะนำไปสู่การนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิดได้

6. จัดการความเครียด

จัดการความเครียด โดยการฝึกสมาธิ โยคะ หรือทำกิจกรรมคลายเครียดอื่น ๆ หรือหากมีเรื่องกังวล จดบันทึกลงในสมุดก่อนนอน ช่วยให้ไม่ต้องคิดมากตอนนอน อีกนัยนึงเป็นการฝึกกิจวัตร การวางแผนไปในตัวโดยปริยาย

7. กำหนดเวลาการนอนและตื่นให้สม่ำเสมอ

กำหนดเวลาการนอนและตื่นให้สม่ำเสมอ เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา แม้กระทั่งในวันหยุดสุดสัปดาห์ ใช้เวลานอนหลับ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน หลีกเลี่ยงการงีบหลับระหว่างวัน และยังเป็นการจัดระเบียบชีวิตได้อีกด้วย

8. เลี่ยงอาหารมื้อดึก

เลี่ยงอาหารมื้อดึก งดอาหารมื้อดึกอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนนอน เลือกทานอาหารมื้อเย็นที่ย่อยง่าย เนื่องจากการรับประทานอาหารมื้อดึกและนอนทันที อาจเสี่ยงต่ออาการอื่น ๆ นอกจากนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด เช่น กรดไหลย้อน เป็นต้น

9. ให้ผิวหนังโดนแดดยามเช้า

ให้ผิวหนังโดนแดดยามเช้า เริ่มต้นเช้าวันใหม่ เติมพลังกาย เสริมสร้างสุขภาพด้วยแสงแดดยามเช้า การรับแสงแดดอ่อน ๆ เพียง 5-10 นาที เป็นประจำทุกวัน จะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายอย่างมาก เนื่องจากได้รับวิตามิน D อย่างเต็มที่ ซึ่งไม่เพียงแค่ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่ยังช่วยในเรื่องของการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง

นอนไม่หลับ ทำไงดี 18 เทคนิคหลับง่าย เพิ่มเติม

นอนไม่หลับทำไงดี สมองไม่หยุดคิด และควรพบแพทย์ เมื่อไหร่

นอนไม่หลับขนาดไหน ถึงเรียกว่าเป็นโรค ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การนอนไม่หลับ ไม่ได้หมายถึงนอนไม่หลับทุกคืน แต่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นบ่อย จนส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ดังนี้

  • นอนหลับยาก ใช้เวลานานกว่า 20 นาที กว่าจะหลับ
  • หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย หลับต่อยาก
  • หลับได้ไม่นาน นอนหลับได้ไม่ถึง 6 ชั่วโมงต่อคืน
  • เกิดขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลานาน 3 เดือนขึ้นไป

โดยผลกระทบหลัก ๆ จะรู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด ขาดสมาธิ จนส่งผลต่อการทำงาน การเรียน อีกทั้งยังเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ดังนั้น หากมีอาการนอนไม่หลับตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม

นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด เกิดจาก

นอนไม่หลับสมองไม่หยุดคิด หลับยาก สมองไม่หยุดคิด เกิดจากอะไร

นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด การนอนไม่หลับ หรือการนอนหลับยาก สาเหตุสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง สาเหตุที่พบได้บ่อยมักมาจาก

ความเครียด

ความเครียด ความวิตกกังวล หรือความว้าวุ่นทางอารมณ์ในระดับสูง อาจรบกวนการนอนหลับของคุณได้ โดยที่ความเครียดจะเข้าไปกระตุ้นการตอบสนอง “fight or flight” (สู้หรือหนี) ของสมอง ซึ่งจะมีการปล่อยฮอร์โมนความเครียดออกมา เช่น คอร์ติซอล ซึ่งอาจทำให้สมองเปลี่ยนไปสู่สภาวะที่เอื้อต่อการนอนหลับได้ยาก

การนอนไม่เป็นเวลา

การนอนหลับในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน อาจส่งผลทำให้วงจรการนอนหลับและการตื่นตามธรรมชาติของร่างกาย แปรปรวนได้ สิ่งนี้ส่งผลต่อสมองที่ทำหน้าที่จดจำและกำหนดวงจรการนอนหลับและตื่นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมกระบวนการทางสรีรวิทยาต่าง ๆ และการนอนหลับที่ไม่ตรงเวลา มีช่วงเวลาสลับสับเปลี่ยนกันไปมา อาจทำให้วงจรเหล่านี้เกิดความสับสนได้

รับประทานอาหารมื้อเย็นเยอะเกินไป

การรับประทานอาหารมื้อเย็นมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้เวลานอนอาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวเพราะอาหารไม่ย่อย ทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น เนื่องจากกระบวนการย่อยอาหารต้องใช้พลังงานและการเรียกใช้พลังงานของร่างกายนี้ อาจไปกระตุ้นสมอง ทำให้จิตใจเข้าสู่สภาวะพักผ่อนได้ยากขึ้น

การใช้ยา

การใช้ยาหรือสารบางชนิด เช่น ยาแก้หวัด, ยากลุ่ม psudoepheridrine, ยาลดน้ำหนัก, ยาต้านซึมเศร้า และอื่น ๆ ส่งผลต่อการนอน

อาการเจ็บป่วย

อีกหนึ่งสาเหตุของการนอนไม่หลับอาจมาจากปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่น มีอาการปวดเรื้อรังในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาการซึมเศร้า หรือมีความผิดปกติทางระบบประสาทบางอย่าง อาจส่งผลทำให้นอนไม่หลับได้ เพราะการเจ็บป่วยสามารถส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของสมอง ส่งผลต่อความสมดุลของสารสื่อประสาท จนไปรบกวนการนอนหลับ

ปัญหาสุขภาพจิต

ภาวะสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้าหรือโรคอารมณ์สองขั้ว อาจทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต อาจส่งผลต่อการควบคุมการนอนหลับ และส่งผลทำให้นอนไม่หลับ

โรคเกี่ยวกับการนอน

สภาวะต่าง ๆ ของร่างกายที่ผิดปกติ เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ ผู้ป่วยกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข หรือโรคนอนไม่หลับ สามารถรบกวนการนอนหลับได้โดยตรง ความผิดปกติเหล่านี้ส่งผลทำให้สมองไม่สามารถเข้าสู่ระยะการนอนหลับตามปกติได้

การบริโภคคาเฟอีนหรือสารกระตุ้น

การบริโภคคาเฟอีน หรือสารกระตุ้น อาจส่งผลต่อระดับสารสื่อประสาท อัตราจังหวะการเต้นของหัวใจ และการทำงานของสมองโดยรวม ทำให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน

ตรวจระดับความเครียดที่ Vitalia Wellness Center

นอนไม่หลับ อาการ

นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด ลักษณะอาการเป็นอย่างไร

อาการ “นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด”เป็นอาการที่พบได้บ่อยของการนอนไม่หลับ ซึ่งผู้ที่กำลังประสบอยู่กับอาการนี้จะมีข้อบ่งชี้หลายอย่างรวมกัน ได้แก่

ตื่นเช้ากว่าเวลาปกติ

ผู้ที่มีอาการนี้มักจะพบว่าตัวเองตื่นเร็วกว่าเวลาตื่นปกติ ตื่นก่อนนาฬิกาปลุก แม้ว่าจะนอนหลับไม่เพียงพอก็ตามแต่ก็อยากลุกแล้ว ไม่มีอาการอยากนอนต่อ

หลับยาก

มักมีลักษณะนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานโดยไม่สามารถหลับได้ ซึ่งอาการนี้จัดเป็นอาการสำคัญของการนอนไม่หลับ ในระหว่างที่นอนไม่หลับนั้นสมองก็จะคิดไปเรื่อย ๆ โดยอาจนึกถึงเรื่องราวสัพเพเหระปะปนกันไป ยิ่งทำให้นอนหลับยากมากขึ้นเข้าไปอีก

ตื่นกลางดึก

มักมีอาการตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืนและพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะกลับไปนอนต่อ สิ่งนี้เรียกว่าการหยุดชะงักของวงจรการนอนหลับ

รู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลีย ระหว่างวัน

ได้นอนไปบ้าง แต่ก็เป็นการนอนที่ไม่เพียงพอและไม่มีคุณภาพ ทำให้ตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกไม่สดชื่นและรู้สึกเหนื่อยล้าตลอดทั้งวัน ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก

ไม่มีสมาธิจดจ่อกับงาน

เพราะการอดนอนอาจทำให้ความจำแย่ลง สมาธิสั้น และเกิดอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย ทำให้การมีสมาธิจดจ่ออยู่กับงาน หรือการทำกิจกรรมในแต่ละวันเป็นเรื่องที่ยากมาก

หงุดหงิด วิตกกังวล

และความหงุดหงิด ความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นจากการนอนไม่หลับ อาจทวีความรุนแรงขึ้นเนื่องจากความหงุดหงิดที่ไม่สามารถนอนหลับได้ และการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง สามารถส่งผลทำให้อารมณ์มีความอ่อนไหวได้ง่ายขึ้น และเกิดความเครียดมากขึ้นตามไปด้วย

นอนไม่หลับมีกี่แบบ

นอนไม่หลับมีกี่แบบ

ตามปกติแล้วการแบ่งประเภทของการนอนไม่หลับ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

นอนไม่หลับแบบเฉียบพลัน

เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ โดยทั่วไปจะกินเวลา 2 – 3 วัน ไปจนถึง 2 – 3 สัปดาห์ มักเกิดขึ้นเพราะมีสถานการณ์บางอย่างเกิดขึ้น เช่น ความเครียด ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ การเดินทาง หรืออาการเจ็บป่วย อาการนอนไม่หลับเฉียบพลันอาจหายไปเองได้ โดยอาจจะเริ่มกลับมานอนหลับได้ตามปกติถ้าความเครียดลดลงแล้ว จัดการปัญหาชีวิตได้แล้ว ไม่ต้องเดินทางแล้ว หรืออาการเจ็บป่วยเริ่มดีขึ้นแล้ว เป็นต้น โดยทั่วไปจะไม่คงอยู่เป็นระยะเวลานาน

นอนไม่หลับแบบเรื้อรัง

คือการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง ในระยะเวลามากกว่า 1 เดือน และอาการนอนไม่หลับนี้จะเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางจิตสุขภาพทางกาย และทำให้เกิดปัญหากับการดำเนินชีวิตประจำวัน

ควรพบแพทย์

นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด และควรพบแพทย์ เมื่อไหร่

สำหรับผู้ที่มีปัญหา นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด ในกรณีที่อาการนอนไม่หลับของคุณเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาติดต่อกันมากกว่า 1 เดือน ควรที่จะต้องไปพบแพทย์ได้แล้ว และยิ่งมีปัจจัยเหล่านี้ร่วมด้วยเช่น ตื่นขึ้นมาในช่วงกลางดึกแล้วนอนต่อไม่หลับจนถึงเช้า หรือมีอาการหายใจไม่ออกในช่วงนอนหลับจนต้องสะดุ้งเฮือกขึ้นมา ควรที่จะต้องไปพบแพทย์โดยด่วน

รักษาอาการนอนไม่หลับ

นอนไม่หลับสมองไม่หยุดคิด พร้อมวิธีรักษา อาการนอนยาก สมองไม่หยุดคิด

วิธีรักษาแก้อาการนอนไม่หลับสามารถทำได้หลายวิธี แต่เราจะแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่วิธีทางธรรมชาติ กับวิธีที่จะต้องใช้ยาเข้ามาช่วยในการบำบัด

แก้ด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่ต้องใช้ยา

นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด อาจเริ่มจากการสร้างนิสัยการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ และสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการนอน นอนในห้องที่มืด เงียบสงบ และเย็นสบาย

และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือก่อนนอน ก่อนนอนพยายามทำใจให้สบาย ๆ และหายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกช้า ๆ พร้อมปรับเปลี่ยนนิสัยประจำวันที่อาจส่งผลให้นอนไม่หลับ เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

แต่หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมากในช่วงใกล้เวลานอน ลดละเลิกการดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะในตอนเย็น พยายามวางใจไว้กับความผ่อนคลาย ไม่คิดถึงเรื่องที่ทำให้เกิดความเครียด จูงจิตไปไว้กับสิ่งที่ทำให้คุณสบายใจเช่น นอนหลับตาผ่อนคลายสูดลมหายใจเข้าและออกช้า ๆ คิดถึงธรรมชาติป่าไม้ทิวเขาทะเลต่าง ๆ พยายามทำให้ใจของคุณสบายและกล่อมสมองให้ค่อย ๆ นอนหลับ

นอนไม่หลับ ทำไงดี

รักษาด้วยการใช้ยา

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับอย่างรุนแรง จะต้องเข้ารับการรักษากับคุณหมอและคุณหมอก็จะสั่งจ่ายยาเพื่อช่วยในการนอนหลับมา ยาที่ใช้ในการรักษาเช่น Diazenpam และ Clonazepam

รักษาด้วยเวชศาสตร์ชะลอวัย ดูแลสุขภาพจากภายในสู่ภายนอก

หรืออีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจของผู้ที่ นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด วิธีก็คือเข้ารับการบำบัดกับ Vitalia Wellness Clinic ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านศาสตร์การดูแล สุขภาพจากภายในสู่ภายนอก มีการวางโปรแกรม ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีปัญหาแตกต่างกันไป เน้นการบำบัดที่ดีต่อผู้ป่วยในระยะยาวอย่างการบำบัดด้วย วิตามินฟื้นฟูสมองสูตรพิเศษ

ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ตื่นบ่อย หลับไม่ลึก ตื่นมาเเล้วเพลีย ซึ่งก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับการบำบัดคุณหมอก็จะทำการตรวจเช็กร่างกายอย่างละเอียด และวางแผนแนวทางการรักษาให้เหมาะกับผู้ป่วยให้มากที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้นอนไม่หลับ

นอนไม่หลับกินอะไรดี

เมื่อถึงเวลากลางคืน แล้วรู้สึกนอนไม่หลับ ควรกินอาหาร ดังนี้

  • โปรตีนเชค : กรดอะมิโนในโปรตีนช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเจริญเติบโต (HGH) HGH ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองและปรับสมดุลฮอร์โมน ควรเลือกโปรตีนเชคที่ไม่มีน้ำตาลและคาเฟอีน ควรดื่มโปรตีนเชคประมาณ 1-2 ชั่วโมงก่อนนอน
  • กล้วยหอม : กล้วยหอมมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและกระตุ้นการหลั่งเมลาโทนิน
  • อัลมอนด์ : อุดมไปด้วยแมกนีเซียม และแคลเซียม และทริปโตเฟนที่เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายเปลี่ยนเป็นเซโรโทนินและเมลาโทนิน ที่ช่วยให้ผ่อนคลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
  • ฝรั่ง : ฝรั่งมีวิตามินบี6 ซึ่งช่วยให้ร่างกายผลิตเซโรโทนิน สารสื่อประสาทที่ส่งเสริมการนอนหลับ มีใยอาหารสูง ใยอาหารช่วยให้อิ่มนานและช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ซึ่งอาจช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น

หากลองปรับพฤติกรรมและทานอาหารตามคำแนะนำแล้ว ยังนอนไม่หลับอยู่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษา

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับมากขึ้น

และนอกเหนือไปจากปัจจัยที่เราได้กล่าวถึงในข้างต้นแล้ว ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะนอนไม่หลับยากขึ้น

ความเครียด

การมีความเครียดในระดับสูง ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องงาน ความสัมพันธ์ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต สามารถมีส่วนทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หรือทำให้อาการกำเริบได้

อายุ

การนอนไม่หลับอาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งก็อาจมาจากปัจจัยหลายประการเช่น มีโรคประจำตัว หรือการเปลี่ยนแปลงจังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น

เพศ

ผู้หญิงอาจมีแนวโน้มที่จะนอนไม่หลับมากกว่าผู้ชาย เพราะมาจากปัจจัย เช่น มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างรอบเดือน มีการตั้งครรภ์ และการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

การเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจ

อาการปวดเรื้อรัง และความผิดปกติด้านสุขภาพจิต (เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล) สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการนอนไม่หลับได้

เพราะสภาวะที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบาย เจ็บปวด จะไปรบกวนการทำงานของสมอง

การใช้ชีวิตไม่เป็นเวลา

มีเวลานอนที่ผิดปกติ มีช่วงเวลานอนที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่ตรงกัน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการนอนไม่หลับได้

อื่น ๆ

การดื่มคาเฟอีนหรือเสพย์นิโคตินมากเกินไป รวมถึงการใช้ยาหรือสารบางอย่างในทางที่ผิด ๆ อาจส่งผลต่อการนอนหลับได้

ผลเสียของการนอนไม่หลับ

การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายและจิตใจของมนุษย์ แต่ในยุคปัจจุบัน หลายคนประสบปัญหาการนอน และเริ่มตั้งคำถามว่า นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด และมีผลเสียอย่างไร และนี่คือผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของการนอนไม่หลับ

ส่งเสียผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน

ส่งเสียผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เพราะ การนอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ป่วยง่าย

ส่งผลเสียต่อสมองและความจำ

ส่งผลเสียต่อสมองและความจำ เพราะ โดยทั่วไปแล้ว การนอนหลับ ช่วยให้สมองจดจำข้อมูลใหม่ หากนอนไม่หลับ หรือพักผ่อนน้อย สมองจะจดจำข้อมูลใหม่ได้ยาก ส่งผลต่อการเรียนรู้ และความสามารถในการจดจำ

ส่งผลเสียต่ออารมณ์

ส่งผลเสียต่ออารมณ์ เพราะ การนอนหลับนั้นส่งผลต่อสารสื่อประสาทในสมอง หากนอนไม่หลับ สมดุลของสารสื่อประสาทจะเสีย ส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้หงุดหงิด เครียด วิตกกังวล และซึมเศร้าได้

ส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย

ส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง

ส่งผลเสียต่อความปลอดภัย

ส่งผลเสียต่อความปลอดภัย เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หากนอนหลับไม่เพียงพอ

นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด รักษา

สรุป

อาการ นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด มาจากสาเหตุหลายประการที่มีความละเอียดอ่อนมาก ๆ นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด ดังนั้นการที่จะรักษาอาการนี้จะต้องเจาะลึกค้นหาไปที่ต้นตอเสียก่อนว่า อะไรที่ทำให้คุณนอนไม่หลับและจัดการแก้ไขปัญหานั้น เพื่อที่คุณจะได้กลับมามีวิถีชีวิตที่ปกติอีกครั้ง และพยายามปล่อยใจให้สบาย ๆ ค่อย ๆ หาวิธีการแก้ไขไปทีละนิด เพราะยิ่งคุณเกิดความวิตกกังวลในเรื่องของการนอนไม่หลับมากขึ้น ปัญหาก็จะยิ่งทับถมและยิ่งแก้ยาก และจะยิ่งนอนหลับยากมากขึ้นเข้าไปอีก

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ Vitalia Wellness Clinic

อาการ นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด มาจากสาเหตุหลายประการที่มีความละเอียดอ่อนมาก ๆ ดังนั้นการที่จะรักษาอาการนี้จะต้องเจาะลึกค้นหาไปที่ต้นตอเสียก่อนว่า อะไรที่ทำให้คุณนอนไม่หลับและจัดการแก้ไขปัญหานั้น เพื่อที่คุณจะได้กลับมามีวิถีชีวิตที่ปกติอีกครั้ง และพยายามปล่อยใจให้สบาย ๆ ค่อย ๆ หาวิธีการแก้ไขไปทีละนิด เพราะยิ่งคุณเกิดความวิตกกังวลในเรื่องของการนอนไม่หลับ ทำไงดีมากขึ้น ปัญหาก็จะยิ่งทับถมและยิ่งแก้ยาก และจะยิ่งนอนหลับยากมากขึ้นเข้าไปอีก

ช่องทางติดต่อ

นัดพบแพทย์

อ้างอิงจาก

All rights Reserved © Vitalia Wellness Clinic, 2023Privacy Policy