ทุกครั้งที่มีการหยิบยกประเด็นเรื่อง “โรคอัลไซเมอร์” ขึ้นมาพูด Vitalia Wellness Clinic สังเกตเห็นว่าหลาย ๆ คน จะรู้สึกมีความกังวล รู้สึกกลัวมาก ไม่ว่าจะกลัวคนที่รักจะเป็นโรคนี้ หรือไม่เว้นแม้แต่กลัวว่าวันหนึ่งวันใดตัวเองอาจจะพบเจอกับโรคนี้เข้าสักวัน ซึ่งวันนี้ทาง Vitalia Wellness Clinic จะมาเปลี่ยนความกลัว ให้กลายเป็นความรู้ และส่งต่อไปถึงความเข้าใจ ทำให้ทุกคนรู้เท่าทันโรคอัลไซเมอร์ อาการ เป็นอย่างไร และถ้าพฤติกรรมแบบใดบ้างที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ ไปดูพร้อมกันได้เลย
“โรคอัลไซเมอร์” จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม จากสภาวะที่เกิดขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความทรงจำ การคิด จนกระทั่งนำไปสู่การช่วยเหลือและดูแลตัวเองไม่ได้
การเกิดภาวะสมองเสื่อมอาจมาสาเหตุหลายประการ เช่น ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่สมองหรือเป็นผลพวงมาจากโรคภัยต่าง ๆ ซึ่งในผู้ป่วยบางรายก็ไม่ทราบสาเหตุ จากข้อมูลของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ พบว่า คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์คิดเป็นร้อยละ 60 - 80 ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้จะมีการตรวจพบปัญหาหลังจากมีอายุ 65 ปีขึ้นไป ในปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่มีวิธีการรักษาและการดูแลคนไข้ซึ่งจะสามารถชะลอการลุกลามของโรคได้
4 พฤติกรรมความเสี่ยง ของคนที่เข้าข่ายเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีดังนี้
การตรวจสอบประวัติครอบครัว จะทำให้คุณหมอนำมาพยากรณ์ถึงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในลูกหลานที่สืบสายเลือดต่อกันมาได้ ซึ่งหมายความว่า หากคุณมีญาติสายตรง เช่น พ่อแม่หรือพี่น้องที่เป็นโรคนี้ คุณก็อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้เช่นกัน แต่ถึงกระนั้นนักวิจัยก็เชื่อว่ายีนไม่ได้ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์โดยตรง ยกเว้นประมาณร้อยละ 1 ที่เกี่ยวข้องกับการกลายพันธุ์ของยีน ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกโดยตรง
คนไข้อัลไซเมอร์จำนวนมากมีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง เช่น พบการสะสมของเบต้าอะไมลอยด์ในหลอดเลือดแดง ที่อยู่ในสมอง หรือแม้แต่การมีหลอดเลือดตีบเล็ก ๆ หรือมีการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง ก็อาจเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ได้
หลอดเลือดแดงที่ได้รับความเสียหายจะเป็นอันตรายต่อสมองมาก ๆ เพราะว่าการไหลเวียนของโลหิตก็จะไม่ปกติ เลือดในสมองก็จะหล่อเลี้ยงไหลเวียนได้น้อยลงหรือช้าลง ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็น เช่น กลูโคส ที่ทำหน้าที่กำจัดโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ที่เป็นพิษ และทำให้เกิดการอักเสบตามมา
การบาดเจ็บที่สมองอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกัน อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นอาจมาจากการล้มแล้วหัวไปฟาดกับของแข็งอย่างแรง การถูกกระแทกอย่างรุนแรง หรือแม้แต่การเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการกระแทกที่ศีรษะ ทำให้สมองอาจได้รับการกระทบกระเทือน
การสูบบุหรี่เป็นประจำ สามารถก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ขึ้นมาได้มากมาย ชื่อโรคพื้นฐานที่ทุกคนคงจะรู้จักกันดีก็ คือ มะเร็ง และบุหรี่ยังมีส่วนช่วยในการทำให้เกิดอัลไซเมอร์ อาการเริ่มต้น ไปจนอาการหนักได้อีกด้วย
วิธีรักษาสำหรับคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ในระยะแรกเริ่ม คุณหมออาจสั่งจ่ายยาที่ช่วยบรรเทาภาวะลุกลามของโรคอัลไซเมอร์ เช่น
มีหน้าที่ออกฤทธิ์ด้วยการเพิ่มระดับการสื่อสารระหว่างเซลล์ และตัวยาชนิดนี้สามารถรักษาสารเคมีที่สมองสูญเสียไป อันเนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย โดยปกติแล้วยาตัวนี้จะเป็นยาชนิดแรกที่คุณหมอจ่ายให้กับคนไข้
สามารถมีส่วนช่วยปรับพฤติกรรมของคนไข้ให้ดีขึ้น เช่น คนไข้ที่รู้สึกมีอาการซึมเศร้าหรือว่ามีความสับสนตัวยาตัวนี้จะช่วยได้ โดยสารยับยั้งโคลีนเอสเตอเรสที่คุณหมอมักจะสั่งจ่ายโดยทั่วไป ได้แก่ Donepezil (Aricept, Adlarity), Galantamine (Razadyne) และ Rivastigmine Transdermal Patch (Exelon)
เป็นเรื่องปกติที่เราทุกคนอาจจะมีบางช่วงเวลาที่ขี้หลงขี้ลืมกันบ้าง สำหรับบางคนอาจจะลืมหนักหน่อย เพราะว่าอาจจะเบลอจากการทำงานหรือไม่มีสมาธิ นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่เราจะแยกได้ยังไงกันละว่าอาการไหนเป็นเพียงแค่อาการขี้หลงขี้ลืม หรืออาการไหนเป็นอาการจากโรคอัลไซเมอร์ วันนี้เราก็นำจุดสังเกตง่าย ๆ มาฝากกัน ขอให้คุณลองนำไปปรับใช้ในการสังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างที่คุณห่วงใยกัน
มักจะเกิดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เกิดไม่บ่อย และเมื่อลองนั่งคิดดี ๆ แล้วก็จะสามารถนึกถึงเรื่องนั้นขึ้นมาได้เอง สาเหตุก็อาจจะเกิดจากการที่คุณไม่มีสมาธิจดจ่ออยู่กับเรื่องที่กำลังทำ เช่น คุยโทรศัพท์ระหว่างแต่งตัวก่อนออกจากบ้านไปด้วย ทำให้ลืมหยิบกระเป๋าสตางค์ หรือบางทีสมองคิดถึงเรื่องอื่นอยู่ ทำให้ใจเหม่อลอย ก็สามารถทำให้ลืมสิ่งที่กำลังทำอยู่ตรงหน้าได้ ถ้าเช่นนี้ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นอาการที่ปกติ
ส่วนใหญ่แล้วมักจะลืมความทรงจำแบบเป็นก้อนใหญ่ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือผู้ป่วยมักจะลืมเหตุการณ์นั้นไปเลย เหมือนเหตุการณ์นั้นไม่เคยเกิดขึ้น ทำให้นำเรื่องราวในชีวิตต่าง ๆ มาปะติดปะต่อกันไม่ได้ จนเกิดความสับสน ไม่เหมือนกับการแค่ลืมหยิบกระเป๋าตังค์หรือหยิบโทรศัพท์ออกมาจากบ้าน เช่น ลืมว่าบ้านเลขที่ของตัวเองคือบ้านเลขที่อะไร และตัวเองมาอยู่ที่บ้านหลังนี้ได้ยังไง หรือลืม ชื่อของสมาชิกในครอบครัว หรือลืมว่าสมาชิกในครอบครัวคนนั้นเป็นใคร ทั้ง ๆ ที่ก็รู้จักกันมาตลอดชีวิต ถ้าเช่นนี้ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์
ในปัจจุบันอัลไซเมอร์สามารถป้องกันได้ ด้วยการตรวจสุขภาพร่างกาย ผ่านแพ็กเกจ Keeping Being Young โดยทีมแพทย์ของ Vitalia Wellness Clinic ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์ชะลอวัย ดำเนินการดูแลรักษาเยียวยาคนไข้อย่างมืออาชีพ
พร้อมให้คำปรึกษาช่วยเหลือดูแลผู้ที่กำลังมีปัญหาในเรื่องของอัลไซเมอร์ มีอาการหลงลืม หรือผู้ที่มีความกังวลว่าตัวเองเคยมีครอบครัวประวัติเคยเป็นอัลไซเมอร์มาก่อนก็สามารถเข้ามารับการตรวจคัดกรองโอกาสความเสี่ยง ที่คุณอาจจะเป็นอัลไซเมอร์ได้ พร้อมทั้งหาวิธีดูแลวางแผนสุขภาพ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
ข้อมูลความรู้ที่ทาง Vitalia Wellness Clinic นำมาฝากคุณผู้อ่านกันในวันนี้ หวังว่าจะทำให้คุณผู้อ่านมีความรู้ มีความเข้าใจต่อโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น และถ้าคุณมีความกังวลอยากตรวจเช็กก่อนว่าตัวคุณเอง หรือคนที่คุณรักมีโอกาส มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์ ก็สามารถเข้ามาใช้บริการตรวจกับคุณหมอได้ที่ Vitalia Wellness Clinic ได้ เพื่อสร้างความสบายใจในเรื่องสุขภาพให้กับคนไข้ทุก ๆ คน